รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2563

2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN

GOLD AWARD

1. Inter Crop Group Building  (Office)

Architect Stu/D/O Architects Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

Contextually, each site contains its own specific qualities of urban context, architectural context, of sun and shade, and of sound and local breeze.  Seek these out, the architect will discover promises of formal order that leads to the genesis of form.

Given architectural brief of an agriculture related company HQ, the architect has devised the metaphor of stepped terraces of Paddy fields.  The skillful interpretation gives rise to proper scale and proportion of form.  The stacking of floor plates allows different departments to occupy varying sizes of floor spaces per their specific requirements. On the outside, the building fragmented itself to blend in with the immediate context of residential precinct.  The glaring effect is also greatly reduced compared to a shining curtain wall building.  Looking from afar at urban scale, the amalgamation of form also manifests itself at the right scale when perceived from the moving vehicles on Sirat Expressway.

In terms of space planning, 4 level atrium space tying all floors together is a big plus, space wise and livability, to the whole composition.  The greening of terraces allows for outdoor activities and visual relief for office workers and contributes positively to the reduction of heat island for our metropolis.

โดยทฤษฎีแล้วที่ตั้งอาคารแต่ละแห่งมีคุณลักษณะเฉพาะตัวในแง่ของบริบทของเมืองและบริบทเชิงสถาปัตยกรรม รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ แสง เงา เสียง และทิศทางลม เมื่อพิจารณาสิ่งเหล่านี้สถาปนิกก็มักจะพบแบบแผนบางประการที่จะนำไปสู่รูปทรงอาคารต่อไป

อาจกล่าวได้ว่าอาคารสำนักงาน Inter Crop เป็นผลงานที่สะท้อนแนวคิดดังกล่าวอย่างลงตัว เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทคือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สถาปนิกจึงได้นำรูปแบบของนาขั้นบันไดมาใช้เทียบแทนในการสร้างรูปทรงทางสถาปัตยกรรม กล่าวคือแทนที่อาคารจะเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่มีผิวผนังต่อเนื่องเป็นระนาบขนาดใหญ่อย่างอาคารสำนักงานที่พบได้ทั่วไป สถาปนิกใช้แนวคิดนาขั้นบันไดมาแตกมวลอาคารเป็นชั้นๆ ยักเยื้องกัน การดึงมวลอาคารแต่ละชั้นให้เยื้องเหลื่อมกันนี้เองนอกจากจะสะท้อนความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่แตกต่างกันไปในแต่ละชั้นแล้ว ยังทำให้เกิดพื้นที่ภายนอกในรูปของชาน ระเบียง และสวน ซึ่งช่วยเสริมบรรยากาศและสุขภาวะของการทำงาน และยังเกิดเป็นส่วนยื่นที่ช่วยบังแดดให้กับอาคารบางส่วนได้อีกด้วย นอกจากนี้ การสร้างมวลอาคารที่แยกย่อยยักเยื้องกันนี้ยังทำให้ผสานเข้ากันได้อย่างดีกับบริบทของชุมชนพักอาศัยโดยรอบ เป็นการออกแบบที่แสดงการคำนึงถึงความเชื่อมต่อกับบริบทเมือง แต่ก็ยังเป็นรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนเพียงพอจนสามารถรับรู้ได้เมื่อสัญจรผ่านด้วยความเร็วบนทางด่วนศรีรัชที่ไม่ไกลจากโครงการ

ในแง่ของการจัดวางที่ว่างภายในอาคาร การเปิดช่องโล่งสูงสี่ชั้นบริเวณโถงบันไดด้านหน้าของอาคารทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างชั้นทั้งในด้านกายภาพและความรู้สึก ทำให้รู้สึกถึงความโล่งสูงและกว้าง ส่งให้องค์ประกอบของระบบที่ว่างโดยรวมมีชีวิตชีวาขึ้น พื้นที่สวนที่ชานภายนอกอาคารที่เกิดจากการเหลื่อมของมวลอาคาร ทำให้เกิดกิจกรรมภายนอกและเป็นพื้นที่ผ่อนคลายของพนักงานและส่งผลดีต่อการลดหรือควบคุมสภาวะเกาะความร้อนที่เป็นกำลังปัญหาใหญ่ในเมืองใหญ่ของเรา นอกจากนี้ การใช้แผงกันแดดทางตั้งที่ออกแบบรายละเอียดโดยคำนึงถึงมุมมองจากภายในเป็นองค์ประกอบหลักของผิวอาคาร ก็ช่วยลดทอนแสงสะท้อนจากผนังกระจกออกไปยังพื้นที่โดยรอบได้เป็นอย่างดี และยังเป็นภาพจำที่เป็นเอกลักษณ์ของอาคารอีกด้วย

 

2. Rabindhorn : Arsomsilp Community and Environment Architect Office (Office)

Architect : Arsomsilp Community and Environment Architect Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

A modern office which was emerging from the old school gymnasium a la adaptive reuse.  This project stands out as a good example of turning a new leaf for a tired and worn out shell.  In addition, language of vernacular architecture was also inserted to resonate its suburban setting.

Architect‘s solution is to retain an original roof structure and insert a loose-knitted working units within the volume beneath.  The result is an attractive system of connecting spaces via walking corridor and bridges, lending itself to an inspiring incidental co-working space that is so conducive to collaborative spirit of all working there.

This creative arrangement reflects a balance between a rather simple architectural language and a complex interlocking spaces of different shapes and sizes.  Also a balance between voluminous spaces and small corners with friendly and private atmosphere, a balance between efficient modern working space and a vernacular type of architecture which is an architect approach and which blends neatly with the site.  The use of vast opening leads to sufficient natural light and ventilation— leading to a romantic feeling of working in the tropical ambience.

อาคารรพินทรเป็นอาคารสำนักงานซึ่งเกิดขึ้นจากการปรับการใช้สอย (adaptive reuse) อาคารยิมเนเซียมเก่าของโรงเรียนรุ่งอรุณซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน การออกแบบอาคารนี้ กล่าวได้ว่าเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นในการให้กำเนิดชีวิตใหม่แก่โครงอาคารเก่าที่คล้ายจะหมดประโยชน์ใช้สอยตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิม

ในการนี้ สถาปนิกเลือกวิธีการคงโครงสร้างหลังคาเดิม แล้วสอดแทรกพื้นที่ใช้สอยใหม่คือสำนักงานเข้าไปในที่ว่างโล่งสูงของอาคารเดิม โดยปรับความสูงของโครงสร้างตามความต้องการของโปรแกรม เกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจยิ่ง คือทั้งที่เป็นอาคารที่มีมวลขนาดใหญ่ แต่ก็ยังสามารถรักษาความโล่งโปร่งของที่ว่างไว้ด้วยช่องแสงขนาดใหญ่ตลอดแนวอาคาร นอกจากนี้ การจัดพื้นที่ทำงานที่มีผนังโปร่งมองทะลุถึงกันเชื่อมต่อกันด้วยระบบระเบียงเปิดคล้ายสะพานเชื่อม ก็ทำให้พื้นที่ภายในอาคารมีลักษณะเชื่อมต่อกันได้โดยการมองเห็นซึ่งกันและกัน ให้ความรู้สึกคล้ายเป็น co-working space สร้างเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมต่างๆ ซึ่งตอบสนองธรรมชาติการทำงานของอาศรมศิลป์เองเป็นอย่างดี

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งของที่ว่างภายในอาคารรพินทรก็คือการสร้างสมดุลที่ลงตัวระหว่างความเรียบง่ายของภาษาสถาปัตยกรรมกับความซับซ้อนของที่ว่าง ระหว่างความโปร่งโล่งสง่างามในภาพรวมกับพื้นที่มุมเล็กมุมน้อยที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองและเป็นส่วนตัว ระหว่างบรรยากาศการทำงานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพกับร่องรอยของภาษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นซึ่งสะท้อนทั้งปรัชญาการทำงานของสถาปนิกเองและบริบทที่ตั้งของอาคาร นอกจากนี้การใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศธรรมชาติในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมดก็ยังทำให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่มีสุนทรียภาพแบบเขตร้อนชื้นได้อย่างดียิ่ง

 


 

2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN

SILVER AWARD

1. Ratchaphruek Hospital (Hospital)

Architect : Arsomsilp Community and Environment Architect Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

All in all, a laudable project of contemporary hospital dovetailed with topicality and critical regionalism.  Apparent in the design is the attempt to strike a balance between user friendliness and technical requirements of a modern hospital whereby infectious control is of prime importance, between a/c spaces and non a/c areas, and between modern efficiency and critical regionalism.  Given the outbreak of COVID-19, this hospital, with loose fitted plan and pervasive non a/c areas, seems to be a prototypical response to his serious threat (luckily the threat was kept under control, Khon Kaen was pretty safe).  Formally, the attempt to domesticate the building with huge gable roof is too heavy handed since a lot of fine details are too far to be perceived meaningfully from where most people move about. 

โดยรวมอาคารที่น่าชื่นชมหลังนี้เป็นโรงพยาบาลร่วมสมัยที่เข้ากันสนิทกับความเป็นท้องถิ่นและให้ความสำคัญกับความเป็นภูมิภาค สิ่งที่เห็นได้ชัดคือความพยายามที่จะสร้างความสมดุลระหว่างลักษณะการใช้สอยที่ง่ายและเป็นกันเองของคนไข้หรือผู้ใช้อาคารและความต้องการทางด้านเทคนิคอันสลับซับซ้อนของโรงพยาบาลสมัยใหม่ ซึ่งต้องป้องกันการติดเชื้ออันเป็นความสำคัญสูงสุด  ในเชิงการออกแบบ งานนี้เป็นการหาสมดุลระหว่างพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่ควบคุมและปรับอากาศและยังต้องแสดงออกซึ่งความเป็นสถาปัตยกรรมภูมิภาคด้วย ในภาวะของการระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลนี้น่าจะสามารถเป็นต้นแบบของความพยายามตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวด้วยผังพื้นที่ค่อนข้างหลวมและมีพื้นที่เปิดโล่งระบายอากาศได้มากพอสมควร โดยคงพื้นที่ปิดเพื่อปรับอากาศเท่าที่จำเป็น

ในแง่ของรูปทรง การออกแบบมวลขนาดใหญ่ของอาคารโรงพยาบาลนี้ให้มีลักษณะของบ้านพักอาศัยทำให้เกิดก้อนหลังคาจั่วขนาดใหญ่มากวางทับอยู่บนยอดอาคาร เกิดความรู้สึกหนักอึ้งแทนที่จะเบาแบบอาคารบ้านพักอาศัย อีกทั้งรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของงานส่วนนี้ก็อยู่ไกลตาจนไม่สามารถที่จะมองเห็นรับรู้ได้ง่ายจากผู้ที่สัญจรผ่านไปมา

2.Raya Heritage Hotel (Hotel)

Architect : Boon Design Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

The project is a successful revisit of the notion of settlement along the Ping River of old Chiang Mai.  Overall design is simple with proper flow between inside and outside and a healthy balance between built form and landscape.  The lobby is extremely impressive thru clever manipulation of scale and proportion.  As one enters, he/she cannot help feeling smaller scale-wise and as such overwhelmed by serene natural surroundings, the pace of life is automatically downshifting.  Interior architecture/design was well executed, elegant, and serene, with unmistakably Lanna ambience.  Landscape design is generous and unpretentious giving rural touch.  Context-wise, the attempt to connect with local community and settlement remains to be seen.

โครงการนี้เป็นความสำเร็จของแนวคิดการกลับมาใช้ที่ดินริมแม่น้ำปิงเพื่ออยู่อาศัยของเมืองเชียงใหม่แต่เดิม การออกแบบโดยรวมมีความเรียบง่ายแต่งดงามด้วยภาษาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่แฝงความเป็นพื้นถิ่นด้วยการใช้วัสดุอย่างมีจังหวะจะโคนและลงตัว ช่วยสร้างคุณค่าให้กับโครงการได้โดยไม่ฟุ่มเฟือย มีความเชื่อมต่ออย่างเหมาะสมระหว่างพื้นที่ภายนอกและภายใน และความสมดุลอย่างเหมาะเจาะของมวลอาคารและภูมิทัศน์  การออกแบบโถงต้อนรับมีขนาดและสัดส่วนของที่ว่างที่สร้างความประทับใจได้มาก เมื่อคนเดินเข้ามาเกิดความรู้สึกถูกย่อให้เล็กลงเมื่อเทียบสัดส่วนกับความใหญ่โตของธรรมชาติอันบริสุทธิ์สะอาดที่แวดล้อมอยู่นั้น เมื่ออยู่ในสภาวะนั้นจังหวะชีวิตจักเดินช้าลงโดยอัตโนมัติ การแทรกพื้นที่กึ่งนอกกึ่งในอย่างระเบียง ชาน และทางเดินสู่ห้องพักชั้นสองเกิดระบบและจังหวะของที่ว่างที่มีเสน่ห์ของความเป็นพื้นถิ่นและตั้งคำถามกับแบบแผนของที่ว่างในอาคารแบบรีสอร์ทได้น่าสนใจ การออกแบบและก่อสร้างการตกแต่งภายในทำได้ดีมีความรู้สึกหรูแต่เรียบและมีบรรยากาศของล้านนาอยู่โดยทั่วไป ในแง่การออกแบบที่ประสานกับบริบทโดยรอบและชุมชนอาจยังต้องปรับปรุงต่อไป


 

2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN

BRONZE AWARD

1. Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasat University (Education Building)

Architect : Arsomsilp Community and Environment Architect Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

The project is a good inspiration to both professions, architecture as well as education, in the sense that architectural design program was pushed beyond functional requirements.  Desirable core values such as communality, creativity, spontaneity, shared identity were taken into considerations. As such, the building incorporates social stairs, embedded pool seatings, wide corridors and grey spaces, all of which lend themselves very well to learning experiences outside lecture rooms, auditorium, and library.  Tropical design could be dovetailed into loose planning setup with further incorporation of indoor landscape elements.  Apart from the Atrium design which somehow falls short, the project is a commendable one. 

ความน่าสนใจของอาคารหลังนี้ อาจยังไม่ปรากฏชัดเจนนักเมื่อมองจากรูปทรงภายนอก หากแต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสอาคารจริง จึงพบว่ามีการสร้างสรรค์ที่ว่างที่ไม่ธรรมดาและไม่ค่อยปรากฏในอาคารเรียนทั่วไป

ความโดดเด่นของอาคารหลังนี้คือการเปิดพื้นที่ว่างกลางอาคารให้เป็นโถงโล่งที่ลื่นไหลเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ ที่ว่างเปิดโล่งเหล่านี้ถูกออกแบบให้มีบรรยากาศหลากหลาย โดยการใช้รูปสัณฐานผสมกันระหว่างเส้นตรง เส้นโค้ง หรือ วงกลม หรือรูปทรงอิสระในบางจุด เมื่อประกอบกับการใช้องค์ประกอบธรรมชาติ เช่น บ่อเลี้ยงปลาที่ชั้นพื้นดิน และแผงไม้เลื้อย ทำให้เกิดพื้นที่ว่างที่ส่งเสริมให้เกิดการพบปะสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้อาคาร และยังเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เสมือนห้องเรียนที่อยู่นอกห้องเรียน เป็นพื้นที่ที่ให้บรรยากาศเป็นกันเอง ผ่อนคลาย และมีชีวิตชีวา ถือเป็นการตอบโจทย์ของอาคารได้อย่างเหมาะสม และยังสร้างสภาวะน่าสบายภายใต้เงื่อนไขของสภาพภูมิอากาศเขตร้อนชื้นได้เป็นอย่างดี

แม้ว่าการออกแบบอาคารนี้จะมีจุดไม่ลงตัวหลายจุด โดยเฉพาะรูปแบบของห้องเรียนบางห้องที่เป็นรูปวงกลม แม้กระทั่งการพบว่ามีเสาบางต้นวางไว้กลางทางเดินซึ่งทำให้เดินผ่านช่องทางนั้นไม่ได้ แต่โดยรวมอาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างของความสำนึกและความพยายามที่จะจัดการกับสภาพแวดล้อมของภูมิอากาศเขตร้อนอย่างยั่งยืน และที่น่าชื่นชมคือการแสดงออกซึ่งอุดมการณ์ของสถาปนิกและผู้บริหารสถาบันแห่งนี้ที่มองเห็นความสำคัญของคุณค่าทางจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร มากกว่าที่จะจำกัดขอบเขตการออกแบบอาคารอยู่แค่การใช้งานเพียงอย่างเดียว

 

2. Little Shelter Hotel (Hotel)

Architect : Department of Architecture Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

Given the dimension of land plot, the major challenge for the designer is to overcome the stuffiness of the land.  Capitalizing on the strategic location vis-a-vis Ping River and specific land alignment, the limitation could be overcome by artful site planning and skillful manipulation of daylight and its reflections thru time via the design of building exterior envelop and interior walls of guest rooms.

On architectural level, planning on main floor could be further refined.  For interior design, the confinement of small and narrow guest rooms is well compensated by tricks of the eye, thru the visual dematerialization of internal walls.  Lastly, the jury committee was concerned with long term maintenance which could be quite handful.

ความท้าทายของโครงการนี้เกิดจากขนาดพื้นที่ดินที่มีขนาดเล็กมาก แต่เป็นพื้นที่ที่สวยงามริมแม่น้ำปิง สถาปนิกสามารถนำข้อจำกัดของรูปร่างและขนาดของที่ตั้งมาจัดวางอย่างชำนิชำนาญจนได้ผลดีและได้ประโยชน์เต็มที่จากศักยภาพของแม่น้ำปิงในบริเวณนั้น การเล่นกับแสงสว่างผ่านเปลือกอาคารที่โปร่งแสง การจัดให้มีช่องโล่งแคบๆ แต่สูงตลอดความสูงของอาคารด้านหน้า รวมทั้งการตกแต่งผนังของห้องพักโดยการใช้ภาพกราฟิกและกระจกเงา ช่วยให้เกิดความสดใสและภาพลวงตาของความกว้างขึ้น การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของโครงการยังสามารถสร้างภาพจำอันช่วยดึงดูดความสนใจผู้คนเพื่อมาที่โครงการได้ดี ตอบโจทย์ของธุรกิจรูปแบบนี้ในภาวการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการออกแบบหลายส่วนรวมทั้งวัสดุภายนอกอาคารอาจจะบำรุงรักษาค่อนข้างยากในระยะยาว

3.V House (Residence)

Architect : M.L. Varudh Varavarn.

JURY PANEL COMMENTS :

An exemplary development for a residential building in a dense urban area of Soi Ton Son.  The project is successful in establishing “comfort in Metropolis”.  Notwithstanding limit plot size, enclosed patio is well placed as the heart of the land.  The building is simple with operable wood screen to amplify harsh sunlight.  The use of materials, timber and steel, is quite successful in maximizing tactile qualities befitting a livable residential building. 

บ้านหลังนี้เป็นตัวอย่างที่ดียิ่งของการออกแบบอาคารพักอาศัยในบริบทอันหนาแน่นใจกลางเมืองอย่างซอยต้นสน ผู้ออกแบบประสบความสำเร็จในการสร้าง “ความอยู่สบายในเมืองใหญ่” ตั้งแต่การวางตัวอาคารล้อมสนามหญ้า สร้างความต่อเนื่องจากพื้นที่สีเขียวเข้ามาสู่ชานและห้องนั่งเล่นที่เปรียบเสมือนหัวใจของการใช้ชีวิตของครอบครัวขนาดเล็กได้อย่างเหมาะเจาะ ตัวอาคารมีความเรียบง่าย จัดวางพื้นที่ใช้สอยอย่างเป็นระบบ ขนาดของพื้นที่แต่ละส่วนสะท้อนการให้ความสำคัญกับบริเวณที่ครอบครัวได้ใช้ร่วมกันมากกว่าพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งละม้ายกับแบบแผนการใช้พื้นที่อย่างไทยๆ การใช้แผงเลื่อนระแนงไม้ช่วยป้องกันแดดจ้าและลดอุณหภูมิภายในอาคาร ความประณีตของรายละเอียดการใช้วัสดุอย่างไม้และเหล็กที่ให้ผิวสัมผัสเฉพาะตัวยังเสริมให้บ้านมีความน่าอยู่และร่วมสมัย ผสานความเป็นตะวันออกเข้ากับชีวิตเมืองได้อย่างลงตัว


 

2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN

COMMENDED AWARD FOR THE PROJECT WITH APPEALING ASPECTS

1.Asha Farmstay Residence

Architect Creative Crews Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

The overall adaptation of local house forms and clustering is quite skillful and commendable.  The outdoor space definition of main courtyard should be further consolidated.  For guest room blocks, the upper floor plan is well resolved, with efficient planning and climate sensitivity, while the lower floor plan is less so.  The use of materials is very tactile befitting the nature of the project.  Lastly, the project is a true benchmark of how to interpret vernacular forms in a modern context. 

โครงการนี้เป็นการปรับใช้ภาษาและรูปแบบการจัดวางของเรือนพื้นถิ่น ซึ่งโดยรวมแล้วกล่าวได้ว่าออกแบบไว้อย่างชาญฉลาดและน่าชื่นชมทีเดียว การจัดวางกรอบที่ว่างของลานกลางหมู่อาคารยังพัฒนาให้ลงตัวและสละสลวยได้มากกว่านี้  สำหรับส่วนห้องพักแขกนั้น ห้องชั้นบนของเรือนทำได้ดีพอสมควร ด้วยจังหวะที่ว่างที่ลงตัวและตอบสนองสภาพภูมิอากาศ แต่ห้องพักชั้นล่างอาจยังไม่ดีเท่า การเลือกใช้วัสดุทำได้เหมาะสมมีผิวสัมผัสที่เข้ากับธรรมชาติและบรรยากาศโดยรวมของโครงการ อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้ก็ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการตีความและถ่ายทอดรูปทรงพื้นถิ่นมาสู่บริบทสมัยใหม่

 

2. JB House (Residence)

Architect : IDIN Architects Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

The originality of the design lies in the lively interplay of levels within such a small footprint. Benign staggering of spaces was well crafted for complex visual connections of different house domains per the specific requirement of the clients.  The inside-out design approach is clearly evident which causes a certain drawback in terms of contextual harmony given its non-negotiable box-like form.  Moreover, flat slab roof and large glazed opening are not sympathy with the micro-climate and require additional elements i.e., trellis and operable building enclosure for climate amplification and privacy. 

ทัศนะของกรรมการต่อการออกแบบบ้านหลังนี้มีความหลากหลาย

ในแง่หนึ่ง บ้านหลังนี้แสดงความพยายามตอบสนองความต้องการและวิถีชีวิตของเจ้าของบ้านสามีภรรยา คือความรู้สึกเชื่อมต่อถึงกันในขณะที่แต่ละคนทำกิจกรรมของตน ภายใต้เงื่อนไขของขนาดที่ดินที่จำกัด การสร้างที่ว่างต่างระดับเพื่อตอบโจทย์นี้ โดยพื้นที่ใช้สอยแต่ละระดับถูกจัดวางให้เกิดการไหลเชื่อมเข้าด้วยกันอย่างนิ่มนวลในพื้นที่จำกัด ช่องว่างระหว่างพื้นแต่ละระดับนั้นนอกจากจะทำหน้าที่สร้างความเชื่อมโยงทางสายตาให้กับผู้อยู่อาศัยแล้ว ยังทำให้นึกถึงองค์ประกอบในเรือนไทยอย่างช่องแมวลอดอีกด้วย ถึงแม้ว่าการสัญจรเชื่อมพื้นที่หลายระดับเช่นนี้จะใช้งานลำบากขึ้นบ้างก็ตาม

ในแง่ของบริบทที่ตั้งและภูมิอากาศ รูปทรงเรียบเป็นกล่องนั้น ออกจะแปลกแยกไปจากบรรยากาศของบริเวณนั้น ซึ่งเป็นท้องถิ่นชนบทดั้งเดิมที่กำลังปรับตัวเข้าสู่ความเป็นชายขอบของเมือง และยังไม่สามารถตอบสนองต่อภูมิอากาศเมืองร้อนอย่างได้ผลนัก รูปทรงกล่องของบ้านทำให้เกิดหลังคาแบนและไม่มีชายคา การแก้ปัญหาโดยการทำบานเปิดขนาดใหญ่เพื่อเปิดออกเป็นแผงบังแดดให้กับผนังกระจกผืนใหญ่ของบ้านได้นั้น ยังอาจจะเป็นปัญหาในการใช้งานและไม่น่าจะมีประสิทธิผลที่ดีนักต่อการจัดการกับปัญหาสภาวะภูมิอากาศเขตร้อนชื้นในแนวทางที่ยั่งยืน

แม้ว่าการออกแบบบ้านหลังนี้จะมีข้อจำกัดบางประการดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการยังพิจารณาและเห็นว่าผลงานออกแบบคงมีความน่าสนใจในความพยายามที่จะสร้างสรรค์ที่ว่างที่ตอบรับกับวิถีชีวิตและโลกทัศน์ของคนรุ่นใหม่

 

3. Pa Prank Hostel (Hostel)

Architect : IDIN Architects Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

Adaptive reuse transformation of two units of typical shophouses within the historical area, Phraeng Sanphasat.  The reorganization of typical cellular plan is a commendable one.  Half a unit was sacrificed to create an atrium space bringing light and openness into the deep corner, thus injecting new vibrancy into the common spaces, i.e., circulation route, social spaces, exhibition areas etc.  The over-reliance of HVAC system for the guest rooms seems to be the weak point of the project.  In some rooms, guests sleep in the room devoid of daylight.  Circulation routes could have been exploited as grey space.  Living experience could be improved drastically if guests could relax on the corridors with seatings for relaxation and casual meeting in daylight.

โครงการนี้เป็นการปรับการใช้สอย (adaptive reuse)  โดยใช้โครงสร้างของตึกแถวสองหน่วยที่แพร่งสรรพศาสตร์มาออกแบบเป็นโรงแรมแบบ hostel  ความน่าสนใจของโครงการนี้อยู่ที่การปรับเปลี่ยนรูปแบบผังพื้นและที่ว่างของตึกแถวโดยทั่วไป โดยยอมเสียพื้นที่ใช้สอยอาคารหนึ่งคูหาเพื่อเปิดเป็นคอร์ทขนาดเล็ก นำแสงเข้ามาทำให้เกิดความสว่างตลอดความลึกของอาคาร และทำให้เกิดความรู้สึกที่โปร่งสบายซึ่งช่วยให้พื้นที่ใช้สอยรวมต่างๆ ในอาคารมีชีวิตชีวามากขึ้น ประเด็นที่โครงการนี้น่าจะยังพัฒนาได้ส่วนหนึ่งคงจะเป็นเรื่องการระบายอากาศทั้งในห้องพักรวมและพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคอร์ทในการสร้างสภาวะน่าสบายได้อย่างเต็มที่ และการใช้พื้นที่ทางสัญจรไม่เต็มศักยภาพ (พื้นที่ระเบียงทางเดินไม่สามารถใช้สอยอย่างอื่น เช่น การนั่งพักหรือทำงานเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงสว่างและความเปิดโล่งเพื่อชดเชยความมืดทึบของห้องนอน เป็นต้น)

รูปลักษณ์ด้านหน้าของอาคารนั้น มีการดึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของย่าน คือบานหน้าต่างเกล็ดมาใช้ โดยเปลี่ยนเป็นวัสดุเหล็กสีดำที่แตกต่างออกไปจากลักษณะของตึกก่ออิฐถือปูนในย่านนั้น เป็นการสร้างอัตลักษณ์จากการเปรียบต่าง สร้างบทสนทนาทางสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจ

 

4. Samyan Mitrtown (Mixed-Use Building)

Architects : Plan Associates Co., Ltd. and Urban Architects Co., Ltd.

JURY PANEL COMMENTS :

Strength of the project lies within its brilliant design program which is a well thought-out blend of commercial, residential condominium, hotel, entertainment, and education related activities.  As such, the vibrancy of the development can be easily felt once one pays a visit to the premise.  Displaced old activities such as small shops and roadside eateries could also make a comeback in a new setting besides new compatible activities.  Coherence of architectural forms may suffer quite a bit due to discrepancies of functions as well as different designers.  The project, however, demonstrates a commitment to save energy thru the selection of up to date building systems as well as maximization of non a/c areas where appropriate.

จุดแข็งของโครงการนี้อยู่ที่โปรแกรมการออกแบบ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างส่วนพาณิชยกรรม ส่วนพักอาศัย โรงแรม และส่วนนันทนาการ รวมทั้งส่วนกิจกรรมการศึกษาเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ตอบสนองต่อธรรมชาติของสามย่านได้อย่างชัดเจน การผสมผสานดังกล่าวนี้ช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาที่สัมผัสได้ทันทีเมื่อก้าวเข้าไปสู่บริเวณโครงการ นอกจากนี้ พื้นที่โครงการยังเอื้อให้เกิดการดึงเอาร้านอาหารและร้านขายของเล็กๆ ในรูปแบบตึกแถวริมถนนแต่เดิมในบริเวณนี้กลับเข้ามาอยู่ร่วมกันกับการใช้สอยในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างลงตัว

เรื่องที่อาจเป็นจุดด้อยของโครงการคือ รูปลักษณ์ที่ไม่เข้ากันนักของอาคารแต่ละส่วนในโครงการ อาจจะเพราะความแตกต่างของประเภทการใช้สอยและการใช้สถาปนิกหลายทีมรวมกันออกแบบก็เป็นได้  อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของความตั้งใจที่จะประหยัดพลังงานโดยการใช้วัสดุและระบบอาคารที่ทันสมัย และการสร้างพื้นที่พาณิชยกรรมที่เปิดโล่งไม่ปรับอากาศเท่าที่จะเป็นไปได้